วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

5.วัฒนธรรมและประเพณี

ศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี

ศาสนสถาน

   ศาสนสถาน จำนวน 117 แห่ง ประกอบด้วย วัด/สำนักสงฆ์ มัสยิด  2 แห่ง โบสถ์คริสต์ และศาลเจ้า

วัฒนธรรมและประเพณี

ประเพณีสงกรานต์

     วันที่ 13 เมษายน เป็นวันสงกรานต์และวันขึ้นปีใหม่ของไทย ชาวไทยจะทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำอวยพรผู้ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องจากเดือนเมษายนเป็นช่วงฤดูร้อน น้ำในคลอง ห้วย หนอง แห้งแล้ง ทำให้ปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเดือดร้อน ดังนั้นวันสงกรานต์จึงนิยมปล่อยปลาลงในแม่น้ำลำคลอง
     ประเพณีสงกรานต์ของอำเภอชัยบาดาลมีจัดกันทั่วไปตามหมู่บ้านต่าง ลักษณะของงานนอกจากจะเป็นงานบุญแล้ว ยังเป็นงานที่คนหนุ่มคนสาวได้สนุกสนานเพระมีการฟื้นฟู นำการละเล่นพื้นบ้านมาเล่น เช่น ชักเย่อ ลูกช่วง ฯลฯ การจัดงานที่หน้าที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล เทศบาลตำบลลำนารายณ์ร่วมกับอำเภอและสภาวัฒนธรรมอำเภอ จัดงานสงกรานต์ขึ้นเป็นประจำทุกปี



งานเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง


     ภาคบ่ายขบวนแห่นางสงกรานต์ของหน่วยงานและตำบลต่าง  ประกวดนางสงกรานต์แต่งกายงามแบบไทย สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรผู้อาวุโส และการแสดงดนตรี




การหล่อเทียนพรรษาและแห่เทียนพรรษา

     งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียน เอามาหลอมหล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน แสดงถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะ ซึ่งจัดโดยสภาวัฒนธรรมร่วมกับอำเภอชัยบาดาลบริเวณสี่แยกสัญญาณไฟจราจรและร่วมกันแห่เทียนพรรษากับทุกตำบล






ประเพณีลอยกระทงตำบลท่ามะนาว

     วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตรงกับเดือนพฤศจิกายน หรือปลายเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำเต็มตลิ่ง พระจันทร์เต็มดวงสุกสว่าง คนไทยสมัยก่อนจึงหาวิธีทำให้เกิดความเพลิดเพลินในยามค่ำคืน จะมีการประดิษฐ์กระทง ซึ่งทำมาจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น ใบตอง ก้านกล้วย ดอกบัวหรือกุหลาบ เป็นต้น แล้วปักธูปเทียน จุดไฟอธิษฐานขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้น้ำกิน น้ำใช้ และเป็นการขอโทษพระแม่คงคา ที่ทำให้สกปรก และขอพรจากพระแม่คงคาให้มีความสุข ความเจริญ การจัดประเพณีลอยกระทงที่วัดท่ามะนาว จะมีประชาชนให้ความสนใจและเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีการไหลเรือไฟ ซึ่งร่วมจัดทำร่วมกันระหว่างวัดท่ามะนาวและ อบต.ท่ามะนาว






ประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกของชาวบ้านบัวชุม

     ตามความเชื่อของคนโบราณในแถบนี้ ที่เชื่อกันว่าทุกสิ่งมี  "ขวัญหรือมีเทพเจ้าที่เรียกว่าพระแม่โพสพสถิตย์อยู่ เมื่อชาวบ้านทำนาเพาะปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวได้แล้ว ก่อนนำข้าวมาบริโภคหรือจำหน่าย จะมีการทำพิธี "สู่ขวัญข้าว" ทำนองเป็นการบูชาพระแม่โพสพที่สถิตย์อยู่ในข้าว  เป็นการแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อรับวัฒนธรรมแบบชาวพุทธเถรวาทซึ่งปฏิเสธการบูชาเซ่นทรวงเข้ามา จึงได้ "ปรับ" ประเพณีนี้ให้เข้ากับวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของตน คือการนำข้าวแรกเกี่ยวไปถวายพระหรือก่อพระเจดีย์เพื่อเป็นการทำบุญเป็นพุทธบูชาแทน และเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนาก็ได้ถือคติปฏิบัติเช่นนี้สืบมาจนถึงปัจจุบันโดยจะนำข้าวใหม่มาหุงบริโภคครั้งแรก แต่จะหุงไว้เป็นจำนวนมากกว่าปกติ เพื่อให้เหลือหลังจากบริโภคแล้ว ทั้งนี้ถือเป็นเคล็ดว่าจะได้เหลือกินเหลือใช้ ไม่อดอยากยากจนอีกต่อไป   ในปีต่อไปของการทำไร่ทำนาก็จะได้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น   ข้าวใหม่ที่หุงนี้จะนำไปให้ผู้มีอาวุโส เช่นปู่  ย่า  ตา  ยาย  ลุง  ป้า  น้าอา ตลอดจนเผื่อแผ่ถึงลูกหลาน หลังจากนี้ก็หุงบริโภคตามปกติ และส่วนหนึ่งนั้น  ชาวบ้านก็จะมีการนำข้าวเปลือกมารวมกันที่วัดก่อเป็นเจดีย์ข้าวเปลือก เพื่อทำบุญตามคติในพระพุทธศาสนาเป็นพุทธบูชา จากพิธีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นอุดมคติของ  ชาวบ้านที่ให้ความสำคัญต่อข้าว ในฐานะแหล่งอาหารสำคัญ  เตือนสติผู้บริโภคให้สำนึกตระหนักถึงการบริโภคอย่างมีความหมาย และให้เห็นคุณค่า





ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ (ปุนเท่าก๊ง ปุนเท่าม้า)
     ของคนไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลตำบลลำนารายณ์ เป็นงานประจำปีที่จะจัดขึ้นหลังจากวันตรุษจีนผ่านไปแล้ว 5 วันและจะมีขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ในวันที่ 6 หลังจากวันตรุษจีน ซึ่งจะตรงกับประมาณปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี







เทศกาลกินปลา ชิมพุทรา ตำบลชัยบาดาล


     จัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว  พุทรา 3 รส  ปลาน้ำจืด จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น