วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

1.ประวัติอำเภอชัยบาดาล

ประวัติอำเภอชัยบาดาล

แต่เดิมอำเภอชัยบาดาลมีฐานะเป็นเมืองชั้นโท ชื่อเมืองไชยบาดาล ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมือง นครราชสีมา ที่ทำการตั้งอยู่ที่บ้านบัวชุมในปีพ.ศ.2457 ทางราชการได้ยกฐานะเป็นอำเภอไชยบาดาลโอนการปกครองไปขึ้นอยู่กับเมืองเพชรบูรณ์จนถึงปีพศ.2461 ได้โอนอำเภอไชยบาดาลไปขึ้นอยู่กับจังหวัดสระบุรีและย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่บ้านไชยบาดาล ตำบลไชยบาดาล ต่อมาทางราชการได้สั่งโอนอำเภอไชยบาดาลไปขึ้นอยู่กับการปกครองของจังหวัดลพบุรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2484  ส่วนตัวสะกดชื่อนั้นได้เปลี่ยนจากคำว่า "ไชยบาดาล" เป็น  "ชัยบาดาล"  เมื่อปี พ.ศ. 2514

credit ภาพบ้านอยู่ลำนารายณ์


ครั้นปีพ.ศ.2521ได้รับเรื่องราวจากกรมทางหลวงแผ่นดินขอให้รื้อที่ว่าการอำเภอหลังนี้เพื่อตัดถนนผ่านตัวอาคารที่ว่าการอำเภอและได้รับอนุมัติให้รื้อถอนได้ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2521 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่อยู่ปัจจุบันและได้สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ทำพิธีเปิดในวันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2555

credit ภาพบ้านอยู่ลำนารายณ์

ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล

    อำเภอชัยบาดาลตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดลพบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,207 ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ หมู่5 ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 90 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 198 กิโลเมตร

อาณาเขต

     ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
     ทิศใต้ ติดต่ออำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
     ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
     ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอโคกสำโรง อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ

      เป็นที่ราบสูง และที่ราบสลับเนินเขา มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน มีความยาว 48 กิโลเมตร


credit ภาพ homelamnarai

ลักษณะภูมิอากาศ
      สภาพอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู


การคมนาคม

      ติดต่อกันระหว่างอำเภอ สามารถใช้ได้ทั้งทางรถยนต์ และทางรถไฟ


credit ภาพ homelamnarai

สภาพเศรษฐกิจ

      ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม


การแบ่งเขตการปกครอง 

      จำนวนประชากร 91,049 คน (พ.ศ. 2556)




คำขวัญอำเภอชัยบาดาล 

     ศูนย์การค้าเศรษฐกิจการเกษตร เขตป่าสัก อนุรักษ์เขาสมโภชน์
    รุ่งโรจน์หลากหลายวัฒนธรรม สวยล้ำน้ำตกวังก้านเหลือง


การข้ามระหว่างท่ามะนาวกับลำนารายณ์โดยใช้รอกข้าม

credit ภาพ lamnarai story

credit ภาพ lamnarai story

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น