วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

1.ประวัติอำเภอชัยบาดาล

ประวัติอำเภอชัยบาดาล

แต่เดิมอำเภอชัยบาดาลมีฐานะเป็นเมืองชั้นโท ชื่อเมืองไชยบาดาล ขึ้นอยู่ในความปกครองของเมือง นครราชสีมา ที่ทำการตั้งอยู่ที่บ้านบัวชุมในปีพ.ศ.2457 ทางราชการได้ยกฐานะเป็นอำเภอไชยบาดาลโอนการปกครองไปขึ้นอยู่กับเมืองเพชรบูรณ์จนถึงปีพศ.2461 ได้โอนอำเภอไชยบาดาลไปขึ้นอยู่กับจังหวัดสระบุรีและย้ายที่ว่าการอำเภอไปอยู่บ้านไชยบาดาล ตำบลไชยบาดาล ต่อมาทางราชการได้สั่งโอนอำเภอไชยบาดาลไปขึ้นอยู่กับการปกครองของจังหวัดลพบุรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2484  ส่วนตัวสะกดชื่อนั้นได้เปลี่ยนจากคำว่า "ไชยบาดาล" เป็น  "ชัยบาดาล"  เมื่อปี พ.ศ. 2514

credit ภาพบ้านอยู่ลำนารายณ์


ครั้นปีพ.ศ.2521ได้รับเรื่องราวจากกรมทางหลวงแผ่นดินขอให้รื้อที่ว่าการอำเภอหลังนี้เพื่อตัดถนนผ่านตัวอาคารที่ว่าการอำเภอและได้รับอนุมัติให้รื้อถอนได้ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2521 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่อยู่ปัจจุบันและได้สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ทำพิธีเปิดในวันจันทร์ที่ 24 กันยายน 2555

credit ภาพบ้านอยู่ลำนารายณ์

ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล

    อำเภอชัยบาดาลตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดลพบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,207 ตารางกิโลเมตร ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ หมู่5 ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อยู่ห่างจากอำเภอเมือง 90 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 198 กิโลเมตร

อาณาเขต

     ทิศเหนือ ติดต่ออำเภอศรีเทพ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
     ทิศใต้ ติดต่ออำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี
     ทิศตะวันออก ติดต่ออำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
     ทิศตะวันตก ติดต่ออำเภอโคกสำโรง อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ

      เป็นที่ราบสูง และที่ราบสลับเนินเขา มีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน มีความยาว 48 กิโลเมตร


credit ภาพ homelamnarai

ลักษณะภูมิอากาศ
      สภาพอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู


การคมนาคม

      ติดต่อกันระหว่างอำเภอ สามารถใช้ได้ทั้งทางรถยนต์ และทางรถไฟ


credit ภาพ homelamnarai

สภาพเศรษฐกิจ

      ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม


การแบ่งเขตการปกครอง 

      จำนวนประชากร 91,049 คน (พ.ศ. 2556)




คำขวัญอำเภอชัยบาดาล 

     ศูนย์การค้าเศรษฐกิจการเกษตร เขตป่าสัก อนุรักษ์เขาสมโภชน์
    รุ่งโรจน์หลากหลายวัฒนธรรม สวยล้ำน้ำตกวังก้านเหลือง


การข้ามระหว่างท่ามะนาวกับลำนารายณ์โดยใช้รอกข้าม

credit ภาพ lamnarai story

credit ภาพ lamnarai story

2.วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์อำเภอชัยบาดาล

     แหล่งสินค้าการเกษตร       ผลิตพลังงานทดแทน
     การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์     เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

ค่านิยม (Core Value) ของอำเภอชัยบาดาล

     มุ่งสู่   “Smart District
     ชัยบาดาลยุคใหม่      ใส่ใจบริการ
     ประสานบำรุงสุข        บำบัดทุกข์ปวงประชา

โครงสร้างพื้นฐาน

     ถนน ทั้งหมด  443 สาย แบ่งเป็น 
        - ทางหลวงแผ่นดิน 12 สาย
        - ทางหลวงชนบท 15 สาย
        - ทางหลวงท้องถิ่น 416 สาย

     โทรศัพท์    3,540   เลขหมาย     
     การประปาส่วนภูมิภาค     1   แห่ง 
     การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค      1 แห่ง      
     สนามบินทหาร               1 แห่ง     
     อ่างเก็บน้ำชลประทาน(โครงการพระราชดำริ)  3 แห่ง ได้แก่ 
        - อ่างเก็บน้ำซับตะเคียน           
        - อ่างเก็บน้ำห้วยหิน
        - สระเก็บน้ำวัดเนกขัมมวิสุทธิ์

      โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์   2 แห่ง (เอกชน)


ข้อมูลด้านการศึกษา

     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต ๒ อยู่ที่โรงเรียนอนุบาลลำนารายณ์  มีโรงเรียนอยู่ในความดูแล ทั้งหมด ๑๘๗ โรงเรียน มีโรงเรียนเอกชน จำนวน ๑๓ โรงเรียน




3.สินค้า OTOP

สินค้า OTOP หรือ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี





















ข้อมูลจาก : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี


4.สภาวัฒนธรรม

สภาวัฒนธรรมอำเภอชัยบาดาล


ประวัติความเป็นมาของสภาวัฒนธรรมอำเภอชัยบาดาล

     ตามมติของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ  ปีพุทธศักราช  2538 มีระเบียบในการส่งเสริมวัฒนธรรม ให้ทำการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ, สภาวัฒนธรรมจังหวัด และสภาวัฒนธรรมอำเภอ พุทธศักราช  2538 อำเภอชัยบาดาล  ได้จัดตั้งสภาวัฒนธรรมอำเภอ โดยสังกัดสำนักงานศึกษาธิการอำเภอชัยบาดาล กระทรวงศึกษาธิการ  มีประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอชัยบาดาลคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2538 - 2542 คือ นายกวี เอ็งประยูร ต่อมาในปี  พุทธศักราช  2542 มีการเลือกตั้งประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอชัยบาดาลแทนคนเดิมที่หมดวาระ นางรัชนี มนูพิพัฒน์พงศ์ ได้รับการเลือกตั้งในครั้งนั้น และปัจจุบัน นางรัชนี มนูพิพัฒน์พงศ์ ดำรงตำแหน่งประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอชัยบาดาล ตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน



วิสัยทัศน์

     ส่งเสริมบุคคลที่มีจิตอาสา พัฒนา อนุรักษ์ สืบสานศิลปะ วัฒนธรรมประเพณีไทย มีใจรักท้องถิ่น กินอยู่แบบพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข รุกก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

พันธกิจ

     1. ส่งเสริมและพัฒนางานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชุมชน ร่วมอนุรักษ์ สืบสานความหลาก
         หลายทางวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบไป
     2. สนองงานสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้คงอยู่และพัฒนาอย่างยั่งยืน
     3. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมของชุมชน
     4. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทางวัฒนธรรม
     5. สร้างคุณค่าทางสังคม และส่งเสริมมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์

   ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการงาน ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
   ยุทธศาสตร์ที่ 2 ธำรง รักษา สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้คงอยู่คู่สังคมไทย
   ยุทธศาสตร์ที่ 3 อนุรักษ์ และสืบทอด ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
   ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างภาคีขับเคลื่อนการดำเนินงานทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
   ยุทธศาสตร์ที่ 5 นำทุนทางวัฒนธรรมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และคุณค่าทางสังคม

วัตถุประสงค์

     1. เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
     2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
     3. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาท้องถิ่น
     4. ยุวชนและเยาวชนให้เป็นแบบอย่างที่ดี

5.วัฒนธรรมและประเพณี

ศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี

ศาสนสถาน

   ศาสนสถาน จำนวน 117 แห่ง ประกอบด้วย วัด/สำนักสงฆ์ มัสยิด  2 แห่ง โบสถ์คริสต์ และศาลเจ้า

วัฒนธรรมและประเพณี

ประเพณีสงกรานต์

     วันที่ 13 เมษายน เป็นวันสงกรานต์และวันขึ้นปีใหม่ของไทย ชาวไทยจะทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำอวยพรผู้ใหญ่เพื่อความเป็นสิริมงคล เนื่องจากเดือนเมษายนเป็นช่วงฤดูร้อน น้ำในคลอง ห้วย หนอง แห้งแล้ง ทำให้ปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเดือดร้อน ดังนั้นวันสงกรานต์จึงนิยมปล่อยปลาลงในแม่น้ำลำคลอง
     ประเพณีสงกรานต์ของอำเภอชัยบาดาลมีจัดกันทั่วไปตามหมู่บ้านต่าง ลักษณะของงานนอกจากจะเป็นงานบุญแล้ว ยังเป็นงานที่คนหนุ่มคนสาวได้สนุกสนานเพระมีการฟื้นฟู นำการละเล่นพื้นบ้านมาเล่น เช่น ชักเย่อ ลูกช่วง ฯลฯ การจัดงานที่หน้าที่ว่าการอำเภอชัยบาดาล เทศบาลตำบลลำนารายณ์ร่วมกับอำเภอและสภาวัฒนธรรมอำเภอ จัดงานสงกรานต์ขึ้นเป็นประจำทุกปี



งานเริ่มตั้งแต่ตอนเช้าทำบุญตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง


     ภาคบ่ายขบวนแห่นางสงกรานต์ของหน่วยงานและตำบลต่าง  ประกวดนางสงกรานต์แต่งกายงามแบบไทย สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวขอพรผู้อาวุโส และการแสดงดนตรี




การหล่อเทียนพรรษาและแห่เทียนพรรษา

     งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมบริจาคเทียน เอามาหลอมหล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน แสดงถึงความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะ ซึ่งจัดโดยสภาวัฒนธรรมร่วมกับอำเภอชัยบาดาลบริเวณสี่แยกสัญญาณไฟจราจรและร่วมกันแห่เทียนพรรษากับทุกตำบล






ประเพณีลอยกระทงตำบลท่ามะนาว

     วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตรงกับเดือนพฤศจิกายน หรือปลายเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำเต็มตลิ่ง พระจันทร์เต็มดวงสุกสว่าง คนไทยสมัยก่อนจึงหาวิธีทำให้เกิดความเพลิดเพลินในยามค่ำคืน จะมีการประดิษฐ์กระทง ซึ่งทำมาจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น ใบตอง ก้านกล้วย ดอกบัวหรือกุหลาบ เป็นต้น แล้วปักธูปเทียน จุดไฟอธิษฐานขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้น้ำกิน น้ำใช้ และเป็นการขอโทษพระแม่คงคา ที่ทำให้สกปรก และขอพรจากพระแม่คงคาให้มีความสุข ความเจริญ การจัดประเพณีลอยกระทงที่วัดท่ามะนาว จะมีประชาชนให้ความสนใจและเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีการไหลเรือไฟ ซึ่งร่วมจัดทำร่วมกันระหว่างวัดท่ามะนาวและ อบต.ท่ามะนาว






ประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือกของชาวบ้านบัวชุม

     ตามความเชื่อของคนโบราณในแถบนี้ ที่เชื่อกันว่าทุกสิ่งมี  "ขวัญหรือมีเทพเจ้าที่เรียกว่าพระแม่โพสพสถิตย์อยู่ เมื่อชาวบ้านทำนาเพาะปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวได้แล้ว ก่อนนำข้าวมาบริโภคหรือจำหน่าย จะมีการทำพิธี "สู่ขวัญข้าว" ทำนองเป็นการบูชาพระแม่โพสพที่สถิตย์อยู่ในข้าว  เป็นการแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อรับวัฒนธรรมแบบชาวพุทธเถรวาทซึ่งปฏิเสธการบูชาเซ่นทรวงเข้ามา จึงได้ "ปรับ" ประเพณีนี้ให้เข้ากับวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิมของตน คือการนำข้าวแรกเกี่ยวไปถวายพระหรือก่อพระเจดีย์เพื่อเป็นการทำบุญเป็นพุทธบูชาแทน และเป็นการปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนาก็ได้ถือคติปฏิบัติเช่นนี้สืบมาจนถึงปัจจุบันโดยจะนำข้าวใหม่มาหุงบริโภคครั้งแรก แต่จะหุงไว้เป็นจำนวนมากกว่าปกติ เพื่อให้เหลือหลังจากบริโภคแล้ว ทั้งนี้ถือเป็นเคล็ดว่าจะได้เหลือกินเหลือใช้ ไม่อดอยากยากจนอีกต่อไป   ในปีต่อไปของการทำไร่ทำนาก็จะได้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น   ข้าวใหม่ที่หุงนี้จะนำไปให้ผู้มีอาวุโส เช่นปู่  ย่า  ตา  ยาย  ลุง  ป้า  น้าอา ตลอดจนเผื่อแผ่ถึงลูกหลาน หลังจากนี้ก็หุงบริโภคตามปกติ และส่วนหนึ่งนั้น  ชาวบ้านก็จะมีการนำข้าวเปลือกมารวมกันที่วัดก่อเป็นเจดีย์ข้าวเปลือก เพื่อทำบุญตามคติในพระพุทธศาสนาเป็นพุทธบูชา จากพิธีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นอุดมคติของ  ชาวบ้านที่ให้ความสำคัญต่อข้าว ในฐานะแหล่งอาหารสำคัญ  เตือนสติผู้บริโภคให้สำนึกตระหนักถึงการบริโภคอย่างมีความหมาย และให้เห็นคุณค่า





ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ (ปุนเท่าก๊ง ปุนเท่าม้า)
     ของคนไทยเชื้อสายจีนในเขตเทศบาลตำบลลำนารายณ์ เป็นงานประจำปีที่จะจัดขึ้นหลังจากวันตรุษจีนผ่านไปแล้ว 5 วันและจะมีขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ในวันที่ 6 หลังจากวันตรุษจีน ซึ่งจะตรงกับประมาณปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี







เทศกาลกินปลา ชิมพุทรา ตำบลชัยบาดาล


     จัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบลชัยบาดาล เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว  พุทรา 3 รส  ปลาน้ำจืด จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์